Princess Crown
การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
welcome to blogger praweena :)

วันเสาร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

การบันทึกครั้งที่ 8 วันพุธที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

การบันทึกครั้งที่ 8วันพุธที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560





***ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากสอบกลางภาค

การบันทึกครั้งที่ 7 วันพุธที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

การบันทึกครั้งที่ 7
วันพุธที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560




ศึกษาดูงาน ณ โรงเรียนเกษมพิทยา

โรงเรียนเกษมพิทยา
เปิดสอนในระดับ การศึกษาขั้นพื้นฐาน (อนุบาล - มัธยมศึกษา) นายเกษม สุวรรณดี เป็นผู้ก่อตั้งโรงเรียนเกษมพิทยา โดยมีอุดมการณ์ที่ จะจัดการศึกษาให้กับเยาวชนของชาติให้มีความเพียบพร้อมด้วยคุณธรรม จริยธรรมและมีความเป็นเลิศทางด้านวิชาการ ทั้งนี้เพื่อสร้างความพร้อมให้กับนักเรียนที่จะเป็น เยาวชนที่ดีของครอบครัวสังคมและประเทศชาติในอนาคตต่อไป

โรงเรียนได้รับอนุญาตให้จัดตั้งเมื่อวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2504 พร้อมทั้ง ดำเนินการก่อสร้างอาคารเรียนหลังแรก จำนวน 5 ห้องเรียนและเปิดทำการสอน เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2504 ต่อมาในปี พ.ศ. 2525 ได้เปิดระดับอาชีวศึกษา คือ โรงเรียนเกษมโปลีเทคนิค และระดับอุดมศึกษา คือมหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ในปี พ.ศ. 2530 สำหรับแผนกอนุบาลเริ่มเปิดรับนักเรียนในปี พ.ศ. 2533 จึงนับได้ว่าเป็นสถานศึกษาเอกชนแห่งแรกของประเทศไทยที่เปิดดำเนินการตั้งแต่ระดับก่อนประถมศึกษาถึงระดับอุดมศึกษา


โรงเรียนเกษมพิทยาแผนกอนุบาล

"แม้ไม่เรียนเขียนอ่านเป็นหลัก แต่ในช่วงปฐมวัยคุณครูสามารถจัดการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมให้เด็กรักภาษาได้ด้วยทฤษฎี "ภาษาธรรมชาติ" โดยเน้นพัฒนาการเด็ก ฟัง พูด อ่าน เขียน วิธีนี้จะทำให้เด็กเกิดความรักในการเรียนภาษาที่ยั่งยืน"


ผู้อำนวยการแผนกอนุบาล
ดร. วรนาท รักสกุลไทย



ดิฉันและเพื่อนนัดกันที่แยก 7 เวลา 07.00 เดินทางโดยรถแท็กซี่ มาถึงโรงเรียนเกษมพิทยาในเวลา 8 โมงนิสๆ555  พอมาถึงอาจารย์จุกก็ประกาศว่าคนที่พึ่งมาถึงให้ไปหาคุณครูนกดิฉันกับเพื่อน 4 คนก็เดินไปหาครูนกครูนกก็ได้แนะนำชื่อและบอกว่าดิฉันได้เข้าสังเกตห้อง3/1และครูนกก็ได้บอกว่ามีเด็กพิเศษกี่คน ดิฉันได้สังเกตน้องหยก และได้สังเกตน้องหยกนิดนึงประมาณ 5 นาที ก็มีการเข้าแถว ดิฉันได้ออกไปเต้นให้เด็กๆดูโดนลงโทษที่มาสายด้วย555 สนุกมากเห็นเด็กยิ้มแล้วรู้สึกดีมากคะ
ดิฉันได้ศึกษาดู ห้อง อนุบาลปีที่ 3/1
น้องหยก 



จากนั้น ครูจุก ซึ่งเป็นฝ่ายดูแลของแผนกปฐมวัย ก็ได้เปิดเพลงเรียกเด็กๆที่กำลังเล่นให้ไปเข้าแถว เพราะได้เวลาเข้าแถวแล้วช่วงเวลาประมาณ 08.30 นาที




 มีการเต้นออกกำลังกายตอนเช้า







จากนั้นก็เข้าห้องประชุม เพื่อทำข้อตกลงต่างๆ รวมไปถึงการให้ความรู้ด้านต่างๆและรับประทานอาหารว่าง


 
ในช่วงเข้าห้องประชุมก็โดนเรียกออกไปบอกถึงพฤติกรรมน้องหยกแบบงงๆ5555 พฤติกรรมในตอนแรกที่เห็นน้องหยกที่สนามก่อนเข้าแถวคือน้องหยกเล่นกับเพื่อนผู้ชายมากกว่าเพื่อนผู้หญิงน้องหยกอาการเหมือนเด็กปกติทั่วไปและสามารถเข้าสังคมได้ตามปกติ



ในห้องเรียน อนุบาลปีที่ 3/1 
วันนี้เด็ก ๆ กำลังปิดโปรเจ็ค หน่วยผักบุ้ง
การสังเกตพฤติกรรมของเด็กพิเศษ
ชื่อ น้องหยก
อายุ  9 ปี
ประเภท โรคออทิสติก
ด้านที่น้องเด่น คือ ตัวโตแข็งแรงชอบเล่นและพูดเก่ง

พฤติกรรมตอนที่สังเกต
  1. ช่วยเหลือตนเองได้ สามารถบอกความต้องการของตนเองได้
  2. พัฒนาการด้านการอ่านน้องจะล่าช้ากว่าเด็กที่อายุน้อยกว่า
  3. น้องพูดเก่ง ชวนคุณครูคุยอยู่ตลอดเวลาและอ้อนครูเก่ง ชมครูว่าผมสวย ครูสวย และหอมแก้มครูด้วยคะ
  4. น้องจะชอบนั่งจ้องของที่อยู่ข้างหน้าน้องวันนั้นที่สังเกตเห็นเลย คือ น้องนั่งจ้องบัวรดน้ำต้นไม้
  5. น้องจะชอบเล่นกับเพื่อนผู้ชายมากกว่าผู้หญิง
พฤติกรรมที่ควรส่งเสริม
  1. การเข้าสังคมกับเพื่อนๆ 
  2. พัฒนาการน้องอาจจะช้า ครูจึงต้องคอยกระตุ้น ดูแลและควบคุมอย่างใกล้ชิด
 

เมื่อดูการเรียนการสอนของเด็กๆเสร็จเรียบร้อยก็ได้เวลารับประทานอาหาร ครูจุกก็เรียกเข้าห้องประชุม ก็เป็นอีกครั้งที่ได้ออกไปเป็นตัวแทน กล่าวขอบคุณและมอบของที่ระลึกให้ทางโรงเรียนเกษมพิทยา








วันเสาร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

การบันทึกครั้งที่ 6 วันพุธที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

การบันทึกครั้งที่ 6
วันพุธที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560





****ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากอาจารย์ติดประชุม

วันเสาร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

การบันทึกครั้งที่ 5 วันพุธที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

การบันทึกครั้งที่ 5
วันพุธที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560



เนื้อหาที่ได้เรียน ความรู้ที่ได้รับ
  • เรียนต่อจากสัปดาห์ที่แล้ว เรื่อง "ประเภทของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ"
6. เด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ (Children with Learning Disabilities) 

  • เรียกย่อ ๆ ว่า L.D. (Learning Disability) เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้เฉพาะอย่าง ไม่นับรวมเด็กที่มีปัญหาเพียงเล็กน้อยทางการเรียน เด็กที่มีปัญหาเนื่องจากความพิการ หรือความบกพร่องทางร่างกาย 
สาเหตุของ LD
  1. ความผิดปกติของการทำงานของสมองที่ไม่สามารถถอดรหัสตัวอักษรออกมาได้ (เชื่อมโยงภาพ ตัวอักษรเข้ากับเสียงไม่ได้)
  2. กรรมพันธุ์

1. ด้านการอ่าน (Reading Disorder)
  1. หนังสือช้า ต้องสะกดทีละคำ
  2. อ่านออกเสียงไม่ชัด ออกเสียงผิด หรืออาจข้ามคำที่อ่านไม่ได้ไปเลย
  3. ไม่เข้าใจเนื้อหาที่อ่าน หรือจับใจความสำคัญไม่ได้
ลักษณะของเด็ก LD ด้านการอ่าน
  1. อ่านช้า อ่านคำต่อคำ ต้องสะกดคำจึงจะอ่านได้
  2. อ่านออกเสียงไม่ชัดเจน
  3. เดาคำเวลาอ่าน
  4. อ่านข้าม อ่านเพิ่มคำ อ่านผิดประโยคหรือผิดตำแหน่ง
  5. อ่านโดยไม่เน้นคำ หรือเน้นข้อความบางตอน
  6. ผันเสียงวรรณยุกต์ไม่ได้
  7. ไม่รู้ความหมายของเรื่องที่อ่าน
  8. เล่าเรื่องที่อ่านไม่ได้ จับใจความสำคัญไม่ได้

2. ด้านการเขียน (Writing Disorder)
  1. เขียนตัวหนังสือผิด สับสนเรื่องการม้วนหัวอักษร เช่น จาก ม เป็น น หรือจาก ภ เป็น ถ เป็นต้น
  2. เขียนตามการออกเสียง เช่น ประเภท เขียนเป็น ประเพด
  3. เขียนสลับ เช่น สถิติ เขียนเป็น สติถิ

ลักษณะของเด็ก LD ด้านการเขียน
  1. ลากเส้นวนๆ ไม่รู้ว่าจะม้วนหัวเข้าในหรือออกนอก ขีดวนๆ ซ้ำๆ
  2. เรียงลำดับอักษรผิด เช่น สถิติ เป็น สติถิ
  3. เขียนพยัญชนะหรือตัวเลขสลับกัน เช่น ม-น, ภ-ถ, ด-ค, พ-ผ, b-d, p-q, 6-9
  4. เขียนพยัญชนะ ก-ฮ ไม่ได้ แต่บอกให้เขียนเป็นตัวๆได้
  5. เขียนพยัญชนะ หรือ ตัวเลขกลับด้าน คล้ายมองจากกระจกเงา
  6. เขียนคำตามตัวสะกด เช่น เกษตร เป็น กะเสด
  7. จับดินสอหรือปากกาแน่นมาก
  8. สะกดคำผิด โดยเฉพาะคำพ้องเสียง ตัวสะกดแม่เดียวกัน ตัวการันต์
  9. เขียนหนังสือช้าเพราะกลัวสะกดผิด
  10. เขียนไม่ตรงบรรทัด ขนาดตัวอักษรไม่เท่ากัน ไม่เว้นขอบ ไม่เว้นช่องไฟ
  11. ลบบ่อยๆ เขียนทับคำเดิมหลายครั้ง



3. ด้านการคิดคำนวณ (Mathematic Disorder)

  1. ตัวเลขผิดลำดับ
  2. ไม่เข้าใจเรื่องการทดเลขหรือการยืมเลขเวลาทำการบวกหรือลบ
  3. ไม่เข้าหลักเลขหน่วย สิบ ร้อย
  4. แก้โจทย์ปัญหาเลขไม่ได้
ลักษณะของเด็ก LD ด้านการคำนวณ
  1. ไม่เข้าใจค่าของตัวเลขเช่นหลักหน่วยสิบร้อยพันหมื่นเป็นเท่าใด
  2. นับเลขไปข้างหน้าหรือถอยหลังไม่ได้
  3. คำนวณบวกลบคูณหารโดยการนับนิ้ว
  4. จำสูตรคูณไม่ได้
  5. เขียนเลขกลับกันเช่น13เป็น31
  6. ทดไม่เป็นหรือยืมไม่เป็น
  7. ตีโจทย์เลขไม่ออก
  8. คำนวณเลขจากซ้ายไปขวาแทนที่จะทำจากขวาไปซ้าย
  9. ไม่เข้าใจเรื่องเวลา


4. หลายๆ ด้านร่วมกัน
อาการที่มักเกิดร่วมกับ LD
  1. แยกแยะขนาดสีและรูปร่างไม่ออก
  2. มีปัญหาความเข้าใจเกี่ยวกับเวลา
  3. เขียน/อ่านตัวอักษรสลับซ้าย-ขวา
  4. งุ่มง่ามการประสานงานของกล้ามเนื้อไม่ดี
  5. การประสานงานของสายตา-กล้ามเนื้อไม่ดี
  6. สมาธิไม่ดี (เด็ก LD ร้อยละ 15-20 มีสมาธิสั้น ADHD ร่วมด้วย)
  7. เขียนตามแบบไม่ค่อยได้
  8. ทำงานช้า
  9. การวางแผนงานและจัดระบบไม่ดี
  10. ฟังคำสั่งสับสน
  11. คิดแบบนามธรรมหรือคิดแก้ปัญหาไม่ค่อยดี
  12. ความคิดสับสนไม่เป็นขั้นตอน
  13. ความจำระยะสั้น/ยาวไม่ดี
  14. ถนัดซ้ายหรือถนัดทั้งซ้ายและขวา
  15. ทำงานสับสนไม่เป็นขั้นตอน

7. ออทิสติก (Autistic)  หรือ ออทิซึ่ม (Autism) 
  • เด็กที่ไม่สามารถมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น  ไม่สามารถเข้าใจคำพูด ความรู้สึกและความต้องการของผู้อื่น ไม่สามารถที่จะสื่อสารกับคนรอบข้างและสังคม เด็กออทิสติกแต่ละคนจะมีเอกลักษณ์ของตนเอง ติดตัวเด็กไปตลอดชีวิต

คำนิยาม
"ไม่สบตา ไม่พาที ไม่ชี้นิ้ว" 
ทักษะภาษา
ทักษะทางสังคม
ทักษะการเคลื่อนไหว 
ทักษะการรับรู้เกี่ยวกับรูปทรง ขนาดและพื้นที่ 



ลักษณะของเด็กออทิสติก 
  1. อยู่ในโลกของตนเอง
  2. ไม่เข้าไปหาใครเพื่อให้ปลอบใจ
  3. ไม่เข้าไปเล่นในกลุ่มเพื่อน 
  4. ไม่ยอมพูด
  5. เคลื่อนไหวแบบซ้ำๆ
เกณฑ์การวินิจฉัยออทิสติก องค์การอนามัยโลกและสมาคมจิตแพทย์อเมริกา
  • ความผิดปกติของปฏิสัมพันธ์ทางสังคมอย่างน้อย 2 ข้อ
  1. ไม่สามารถใช้ภาษาท่าทางสื่อสารทางสังคมกับบุคคลอื่น
  2. ไม่สามารถสร้างสัมพันธภาพกับบุคคลให้เหมาะสมตามวัย
  3. ขาดความสามารถในการแสวงหาการมีกิจกรรม ความสนใจ และความสนุก สนานร่วมกับผู้อื่น
  4. ขาดทักษะการสื่อสารทางสังคมและทางอารมณ์กับบุคคลอื่น
  • ความผิดปกติด้านการสื่อสารอย่างน้อย 1 ข้อ

  1. มีความล่าช้าหรือไม่มีการพัฒนาในด้านภาษาพูด
  2. ในรายที่สามารถพูดได้แล้วแต่ไม่สามารถที่จะเริ่มต้นบทสนทนาหรือโต้ตอบบทสนทนากับผู้อื่นได้อย่างเหมาะสม
  3. พูดซ้ำๆ หรือมีรูปแบบจำกัดในการใช้ภาษา เพื่อสื่อสารหรือส่งเสียงไม่เป็นภาษาอย่างไม่เหมาะสม
  4. ไม่สามารถเล่นสมมุติหรือเล่นลอกตามจินตนาการได้เหมาะสมกับระดับพัฒนาการ
  • มีพฤติกรรม ความสนใจ และกิจกรรมที่ซ้ำๆ และจำกัด อย่างน้อย 1 ข้อ
  1. มีความสนใจที่ซ้ำๆ อย่างผิดปกติ
  2. มีกิจวัตรประจำวันหรือกฎเกณฑ์ที่ต้องทำโดยไม่สามารถยืดหยุ่นได้ ถึงแม้ว่ากิจวัตรหรือกฎเกณฑ์นั้นจะไม่มีประโยชน์
  3. มีการเคลื่อนไหวร่างกายซ้ำๆ
  4. สนใจเพียงบางส่วนของวัตถุ
พฤติกรมการทำซ้ำ

  • นั่งเคาะโต๊ะ หรือโบกมือนานเป็นชั่วโมง
  • นั่งโยกหน้าโยกหลังเป็นเวลานาน
  • วิ่งเข้าห้องนี้ไปห้องโน้น
  • ไม่ยอมให้เปลี่ยนสิ่งแวดล้อม
พบความผิดปกติอย่างน้อย 1 ด้าน (ก่อนอายุ 3 ขวบ)

  • ปฏิสัมพันธ์ทางสังคม
  • การใช้ภาษาเพื่อสื่อความหมาย
  • การเล่นสมมติหรือการเล่นตามจินตนาการ
ออทิสติกเทียม

  • ปล่อยให้เป็นพี่เลี้ยงดูแลหรืออยู่กับผู้สูงอายุ 
  • ปล่อยให้ลูกอยู่กับไอแพด
  • ดูการ์ตูนในทีวี

Autistic Savant
กลุ่มที่คิดด้วยภาพ (visual thinker) 
     จะใช้การการคิดแบบอุปนัย (bottom up thinking) 
กลุ่มที่คิดโดยไม่ใช้ภาพ (music, math and memory thinker) 
    จะใช้การคิดแบบนิรนัย (top down thinking)


1. อัจฉริยะออทิสติก Idiot Savant : คิม พีค (Kim Peek) อัจฉริยะด้านความจำ ได้ฉายา คิมพิวเตอร์
ชายวัยกลางคนตัวอ้วนๆ ที่ดูหน้าตาท่าทางเขาอาจจะดูเอ๋อๆ แต่จริงๆ แล้วเป็นคนที่มีศักยภาพทางสมองสูงล้ำกว่ามนุษย์ธรรมดามาก จนถึงขั้นได้รับสมญานามว่า คิมพิวเตอร์
2. อัจฉริยะออทิสติก Idiot Savant : โทนี่ เดอบลอยส์ (Tony DeBlois) อัจฉริยะด้านดนตรี ถึงแม้ ตาบอดมาตั้งแต่กำเนิด

3. อัจฉริยะออทิสติก Idiot Savant : อลอนโซ่ เคลมอนส์ (Alonzo Clemons) อัจฉริยะด้านศิลปะ การปั้น

4. อัจฉริยะออทิสติก Idiot Savant : สตีเฟ่น วิลท์ไชร์ (Stephen Wiltshire) อัจฉริยะด้านการวาด ฉายา มนุษย์กล้องถ่ายรูป


5. อัจฉริยะออทิสติก Idiot Savant : แดเนียล แทมเม็ท (Daniel Tammet) อัจฉริยะด้านความจำ คิดเลขเร็ว และภาษา (คล้าย คิม พีค)


ประเมินตนเอง : ตั้งใจเรียนและตั้งใจฟังเนื้อหาทฤษฎี เรื่อง เด็กที่มีความต้องการพิเศษ และได้ทราบประเภทของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ 

ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆตั้งใจเรียน และตั้งใจฟังเนื้อหาทฤษฎี เรื่อง เด็กที่มีความต้องการพิเศษรวมถึงประเภทของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ

ประเมินอาจารย์ : อาจารย์เตรียมการเรียนการสอนของหลักการทฤษฎีเบื้องต้น ความหมายและประเภทของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ มาบรรยายให้ความรู้ในวันนี้ รวมไปถึงการนำตัวอย่างรูปภาพและคลิปวิดีโอมาให้ดูอีกด้วยค่ะ

วันศุกร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

การบันทึกครั้งที่ 4 วันพุธที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

การบันทึกครั้งที่ 4
วันพุธที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560






***ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากอาจารย์ไปดูงานที่ต่างจังหวัด